เมื่อพิจารณาโหลดทางไฟฟ้าชนิดต่างๆ
จากรูปวงจรโหลดที่เป็น R จะเห็นว่า
สัญญาณของแรงดันและสัญญาณของกระแสไฟฟ้านั้น inphase หรือซ้อนทับกันพอดี
ซึ่งเมื่อนำมาหาสามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้า จะทำให้สามเหลี่ยมกำลังมี P กับ S ใกล้กันมากจนทับกันทำให้
Power Factor เท่ากับ 1 แต่ในทางปฏิบัติแล้ว โอกาสที่
P.F.เท่ากับ 1 นั้นเป็นไปได้ยาก(ปรับปรุงให้ใกล้เคียงที่สุด)
จากรูปวงจรโหลดที่เป็น L จะเห็นว่า
สัญญาณของแรงดันและสัญญาณของกระแสไฟฟ้านั้น สัญญาณกระแสจะตามหลังสัญญาณแรงดัน 90 องศา จะทำให้ P.F. เป็นแบบ lagging หรือล้าหลัง
จากรูปวงจรโหลดที่เป็น C จะเห็นว่า
สัญญาณของแรงดันและสัญญาณของกระแสไฟฟ้านั้น สัญญาณกระแสจะนำหน้าสัญญาณแรงดัน อยู่ 90 องศา จะทำให้ P.F. เป็นแบบ leading หรือ นำหน้า
โดยเมื่อกระแสและแรงดันมีมุมต่างกันมากจะทำให้สูญเสียกำลังมากเช่นกัน
ในทางปฏิบัติ สายส่งไฟฟ้าจะมีทั้งค่า R ค่า L และ ค่า C ทั้ง 3 ค่า และ โหลดที่ต่ออยู่ก็จะทำให้เวกเตอร์ในระบบไฟฟ้านั้นเปลี่ยนแปลงไป คุณภาพไฟฟ้าจะรวมเวกเตอร์ในระบบไฟฟ้า และ วิเคราะห์สามเหลี่ยมกำลัง ว่าเป็น lagging หรือ leading
ส่วนใหญ่อุปกรณ์ ใน Cap Bank จะทำการปรับปรุงให้อัตโนมัติ
ส่วนใหญ่อุปกรณ์ ใน Cap Bank จะทำการปรับปรุงให้อัตโนมัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น