วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อุปรกรณ์งานอิเล็กทรอนิกส์ในระบบไฟฟ้ากำลัง

1.ไดโอดกำลัง






จะมีพิกัดกระแสและแรงดันสูงกว่าในงานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
ซึ่งจะมีพิกัดกระแสตั้งแต่ 1 A ถึง หลายพันแอมป์
ชนิดของไดโอด
1.1ไดโอดทั่วไป (General Purpose)
มีพิแรงดันและกระแสสูงสุด 6000 V 4500 A ใช้ในวงจรเรียงกระแส ในงานความถี่ไม่สูงมาก

1.2 ไดโอดฟื้นตัวเร็ว(Fast Recovery)

มีพิแรงดันและกระแสสูงสุด 6000 V 1100 A เหมาะกับงานความถี่สูง วงจรสวิตซ์ชิ่ง วงจรอินเวอร์เตอร์

1.3 ชอตกี้ไดโอด (Schottky)
มีพิแรงดันและกระแสสูงสุด 100 V 300 A ใช้เวลาฟื้นตัวน้อย เหมาะกับงานความถี่สูงมาก

2.ไทริสเตอร์แบบ เอสซีอาร์ (SCR)
เมื่อจ่ายแรงดันบวกให้ขาแอโนด และ จ่ายแรงดันลบให้ขาแคโถด SCR จะยังไม่นำกระแสจนกว่าจะจ่ายแรงดันให้ขาเกท เมื่อมีสัญญาณมาทริกที่ขาเกท จะทำให้ SCR นำกระแสได้ และแม้ว่าจะหยุดจ่ายกระแสที่ขาเกทแล้ว หากกระแสที่ไหลผ่าน SCR มากกว่า กระแสแลตชิ่ง (Latching)  SCR จะยังคงทำงานอยู่

3.ไทริสเตอร์แบบ เกทเทอร์นออฟ (GTO)
จะเหมือนแบบ SCR คือเมื่อนำกระแสแล้วจะรักษาสภาพการนำกระแสแม้จะหยุดจ่ายกระแสให้ขาเกทแล้ว
แต่จะสามารถหยุดนำกระแสได้เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าลบให้ขาเกท
มีพิแรงดันและกระแสสูงสุด 6000 V 6000 A

4.ไทริสเตอร์แบบ ไตรแอค (Triac)
สามารถนำกระแสได้ 2 ทางเหมือนการนำ SCR 2 ตัวมาต่อขนานกันแบบกลับขั้วกัน แต่ขาเกทจะต่อรวมกัน สามารถใช้ได้ทั้งวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ

5.ทรานซิสเตอร์กำลังแบบ มอสเฟท (MOSFET)
โดยเมื่อต้องการให้มอสเฟทนำกระแส จะต้องป้อนแรงดันไฟฟ้าเข้าที่ขาเกท ซึ่งความต้านทานระหว่างขาเดรนกับขาซอส ขึ้นอยู่กับพิกัดแรงดันไฟฟ้า
มอสเฟทมีพิกัดแรงดันมากกว่า 1000 V และพิกัดกระแส 100 A จุดเด่นคือมีความถี่ในการสวิตซ์ชิ่งสูง

6.ทรานซิสเตอร์กำลังแบบ ไอจีบีที (IGBT)
ควบคุมการนำกระแสและหยุดนำกระแสโดยการควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ขาเกท ค่าอิมพีแดนซ์สูงเหมือนมอสเฟทกำลัง ทำให้ใช้พลังงานน้อย ทำงานได้ที่ความถี่สูงรองจากมอสเฟท



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น